ประเทศไทยไร้สารพิษตกค้าง (ร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูล การปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…) สถานการณ์และปัญหา 1. ปัจจุบันสังคมขาดข้อมูลความรู้การปล่อยสารมลพิษเข้าสู่ระบบนิเวศ ทั้งดิน น้ำ อากาศ และการปนเปื้อนของสาพิษที่ในอาหารที่กิน อากาศที่หายใจ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และสารมลพิษดังกล่าว มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างไร เนื่องจากแหล่งกำเนิดของมลพิษในสิ่งแวดล้อมกระจายออกไปโดยขาดการควบคุมที่รัดกุม 2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to know) สิทธิผู้บริโภค หลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักการภาระรับผิดของบรรษัทผู้ก่อมลพิษเป็นหัวใจสำคัญของการรายงาน และเปิดเผยข้อมูลการปล่อย และเคลื่อนย้ายสารมลพิษ หรือ PRTR 3. การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศ ก่อให้เกิดภัยคุกคามจากมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและคร่าชีวิตคนจำนวนมาก 4. รัฐบาลต้องมีกฎหมายและมาตรการลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน 5. PRTR เป็นกฎหมายหลักที่ทั่วโลกยอมรับ กล่าวคือ กฎหมายที่สามารถแก้ปัญหามลพิษอากาศ น้ำและดิน โดยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย 1. ประชาชนมีฐานข้อมูลหรือคลังข้อมูลสารเคมีที่อาจจะเป็นอันตราย/สารมลพิษที่ปล่อยสู่อากาศ น้ำและดิน และของเสียที่มีการเคลื่อนย้ายจากแหล่งกำเนิดไปกำจัดหรือบำบัด 2. ภาครัฐมีระบบที่สำหรับติดตามแนวโน้มมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม ระบุพื้นที่มลพิษ และจัดลำดับความสำคัญของแผนป้องกันสิ่งแวดล้อม 3. ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการสารเคมีที่ปลอดภัย กฎหมาย /นโยบาย / กลไกนโยบาย • ร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… ผู้ปฏิบัติ • หลัก : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงมหาดไทย • รอง : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แนวทางการผลัดดันและรูปธรรมที่คาดหวัง • คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายลำดับรอง ภายใต้กรมโรงงานอุตสาหกรรม • กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นกับร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา • นายกรัฐมนตรี พิจารณาและรับรองร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… • ที่ประชุมรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและรับรองในวาระที่ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมายฯ กระบวนการผลักดันงานที่สำคัญ • ภาคีเครือข่ายจัดให้มีกระบวนการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 • ภาคประชาสังคมรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อสนับสนุนร่างกฎหมาย • ภาคการเมืองแสดงความเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… และร่วมผลักดันร่วมกับภาคประชาสังคม ร่วมถึงขับเคลื่อนกฎหมายในขั้นตอนของรัฐสภา
This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation